Friday, April 21, 2017

Low risk High return Strategy

จุดเข้าซื้อที่เสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนสูง
หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูง ต้องมีการเสริมกันทั้งพื้นฐานและเทคนิคอล

พื้นฐาน 
- ธุรกิจมีการเติบโตและสามารถโตได้อีก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต เมกะเทรนด์ หรือ การขยายตลาดด้วยจำนวนสาขา หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของท้องตลาด หรือเป็นธุรกิจเทิร์นอะราวด์ เปลี่ยนไปทำสิ่งที่ตลาดมีความต้องการซื้ออีกมากมาย บลูโอเชียน
- ถ้าเทิร์นอะราวด์-งบการเงินมีการส่งสัญญาณฟื้นตัว อาจจะยังไม่ชัดเจนแต่สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงได้
- หุ้นที่ทำกำไรเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และมีโปรเจกต์ใหม่ๆที่สามารถเพิ่มยอดขายให้โตได้อีก

เทคนิคอล
A) ดีที่สุดซื้อแล้วต้องวิ่งต่อ และไม่ลงมากินทุนจนต้อง stop loss
- ซื้อตอนมันสตาร์ทเวฟสาม = เกิด breakaway gap, breakout กรอบ sideway bottom พร้อมวอลุ่มสูงๆ
ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของสไตล์นี้คือ เกือบทั้งหมดของการ breakout มักจะมาพร้อมกับ overbought ซึ่งเป็นจังหวะขายของคนจำนวนมากที่เล่นในกรอบ(หรือเขาอาจจะรู้อะไรๆดีกว่าเรา) ดังนั้นจึงควรเผื่อใจเอาไว้หากรายใหญ่ไม่รับซื้อยันราคาไว้อยู่ มันแดงลงมาหลังจากนั้น-เราจะทำยังไง ให้ไฮเดิมเป็น stoploss มั้ย หรือเผื่อเอาไว้เขย่ากี่ช่อง หรือ fix เป็นเปอร์เซ็นต์เอาไว้เลย หรือจะดูระดับการ retrace เอาไว้เท่าไหร่ ไม่เกิน 50% มั้ย

ดังนั้นประเด็นก็คือ จะทำยังไงให้ตอนที่เราพลาด มันจะเข้าเนื้อเราน้อยที่สุด การมีหุ้นไว้ใน watchlist เฝ้าดูทุกวันจึงต้องมี เพื่อที่จะได้เข้าซื้อในตอนที่มัน breakout หรือเปิด gap ขึ้นไปได้ทันที

หรือถ้ามันย่อก็อาจจะดูภาพใหญ่ว่ามันเด้งมาสูงแค่ไหน ให้โอกาสย่อลงมาได้เท่าไหร่ถึงจะไม่เสียทรงของขาขึ้นอันเป็นระดับที่เราก็ยอมรับได้ และถ้ามันเด้งเพื่อไปต่อก็ให้ซื้อเพิ่มตรงนั้นอีกไม้ใหญ่ๆ กระนั้นก็มีหุ้นบางตัวที่เขย่าแรงจนหลุดระดับที่เรากะไว้ ก็อย่าเพิ่งละทิ้งมัน ให้รอดูการฟื้นตัวรอบใหม่ ถ้ามันดีดตัวขึ้นมาทะลุแนวที่เราทำไว้ได้ก็ควรเข้าอีกรอบ เพราะหุ้นดีๆที่มีอนาคตดีมีการสนับสนุนของคนเงินเยอะนับวันยิ่งหายาก เจอแล้วต้องกัดไม่ปล่อย

B) ดีรองลงมา ได้ทุนต่ำแต่ก็อาจมีต่ำกว่าเพราะอาจลงต่อจนหลุด stop หรือไม่ไปไหน sideway แช่ให้อึดอัด

- ตอนราคาเด้งจากการทำ double bottom, tripple bottom พร้อมกับbullish divergence (ซึ่งมันก็มักจะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว) เมื่อซื้อแล้วก็ต้องเฝ้าดูตลอดระวังทางลงอย่างเดียว เนื่องจากอารมณ์หุ้นยังอยู่ในดินแดนแห่งความกลัว ตลาดแดงหนักก็มีโอกาสลงต่อได้ทุกเมื่อ

หน้าที่ของนักเก็งกำไรที่ชอบซื้อของแพงเพือให้ได้ขายในราคาที่แพงกว่าคือ
อันดับแรกต้องมั่นใจว่าหุ้นเป็นขาขึ้นชัวร์
ต่อมาคือหาช่วงปรับฐาน เหมือนการสืบหาลักษณะการพักเหนื่อยของหุ้นให้เจอก่อนที่มันจะวิ่งไปต่อ

ถ้าเป็นสาย CANSLIM ก็จะมองหา cup with handle, pocket pivot buy point
Mark Minervini คือ VCP
นอกจากนั้นผมคิดว่า continuition pattern แบบต่างๆ ก็ถือว่าเข้าข่ายนะ เช่น flag, pennant, wedge และ rectangle

ซึ่งจะว่าไปแล้วชื่อเรียกที่ว่ามานั้นมันมีแก่นเดียวกัน คือการสวิงของราคายิ่งมายิ่งลด
เช่นเดียวกับวอลุ่ม หมายถึงความสนใจของคนในตลาดลดลงแปรผันตามเวลา เพราะสาเหตุที่ทำให้หุ้นเกิด pattern เหล่านี้คือ "การถูกแรงขายกดดัน" ทำให้ราคาลดลงแรงจนเสียโมเมนตัม ดังนั้นสิ่งที่คนทำราคาแสดงออกคือ "ปล่อยให้มีการขายจนหมดแรง" คุณไม่อยากขายเมื่อไร - ผมลากต่อ
ระหว่างทางก็จะมีนักเก็งกำไรระยะสั้นเข้ามาซื้อๆขายๆให้ราคาสวิงขึ้นลงหลายรอบ แต่ยิ่งนานไปเป็นวันเป็นสัปดาห์กรอบที่สวิงยิ่งแคบ และเมื่อคนเล่นสั้นมองว่าการสวิงของหุ้นมีช่วงราคาไม่คุ้มกับการเล่นแล้ว ก็จะขายหุ้นคืนให้คนทำราคาแล้วก็จากไป

คนเล่นสั้นช่วยรวบรวมหุ้นที่กระจัดกระจายพร้อมขายในตลาดมาคืนให้เจ้ามือ
และเมื่อราคาฟื้นตัวหรือดีดทะลุแนวต้านจะเป็นแท่งเขียวยาวและวอลุ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย จากนั้นหุ้นจะวิ่งต่อได้ไกลมาก

จึงไม่แปลกใจที่นักเทคนิคส่วนใหญ่ชอบแพทเทิร์นสามเหลี่ยมหรือธง คุณภาววิทย์ก็เรียกว่าหุ้นเขื่อนแตก
เพราะพอมันเบรคต้านขึ้นไปได้ราคาจะวิ่งแรงและไว ทำให้ได้กำไรดีสุดๆ
หรือราคาลงไปไกล้/แตะ ema แล้วเด้ง,ราคาบีบตัวแคบสุด+วอลุ่มแห้งฯลฯ
ไม่มีใครรู้หรอกว่ามันพักแล้วจะไปต่อ ได้แต่เฝ้าดูและรอให้ราคามันแสดงออก
สัญญาณนั้นคือการ breakout ขึ้นไปทำนิวไฮ(เหนือฐานที่มันพักเหนื่อย) พร้อมด้วยปริมาณซื้อขายที่มากกว่าค่าเฉลี่ย

หัวใจอีกอย่างคือหุ้นต้องเป็นขาขึ้นเท่านั้น

Popular Posts