Saturday, December 10, 2016

วิธีดูหุ้น Sideway เพื่อหาจุดซื้อก่อนขึ้นรอบใหญ่





เชื่อว่าถ้าเราอยู่ในตลาดมาสักพักหนึ่งจะได้ยินกูรูหลายท่านบอกบ่อยๆว่า หุ้นที่สามารถเบรคกรอบ sideway ได้จะวิ่งแรง คือขึ้นก็แรง ลงก็แรง จากประสบการณ์ของผมที่พอมีอยู่นิดหน่อยก็ขอสนับสนุนแนวคิดนี้อย่างสุดหัวใจเลย เพราะเจอมาทั้งสองแบบ



แต่บทความนี้จะขอพูดถึงการสะสมเพื่อที่จะขึ้นแรงๆนะครับ เพราะการสะสมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับหุ้น Superstocks เลยก็ว่าได้
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมจะขอเริ่มที่ความรู้เบื้องต้นของการสะสมก่อนเลย

ขอโฆษณาหนังสือที่เกี่ยวกับ Wyckoff Logic หน่อยนะครับ ชื่อ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"
สนใจติดต่อ facebook.com/zyobooks นะครับ


ตอนแรกเราควรมองภาพใหญ่การขึ้นลงของราคาหุ้นเป็นวัฏจักรเลย ว่ามันมีวงจรอย่างไร โดยเราสามารถแบ่งได้เป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ตามหลัก Wyoff Logic คือ

สะสม - ไล่ราคา - แจกจ่าย - และ ทุบ
ดังนั้น หากเราต้องการจะทำเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำจากหุ้นตัวหนึ่งๆได้ ก็ต้องได้ต้นทุนที่ต่ำๆในช่วง สะสม เพื่อเอาไปขายในจุดสูงๆคือ ช่วงแจกจ้าย
ทว่า, มันเป็นเรื่องยากที่ใครสักคนจะได้ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำสุด และแม้เขาจะซื้อได้ที่ราคานั้นก็ไม่การันตีได้ว่าเขาจะทนถือไปจนถึงจุดสูงสุดได้
บทความนี้ก็ไม่ได้ตั้งใจจะชวนท่านให้ซื้อหุ้นที่จุดต่ำสุด แต่จะแนะจุดซื้อที่ดี ในจังหวะที่ไม่ต้องรอนาน
แต่ก่อนอื่นที่จะไปถึงเรื่องจุดซื้อเรามาทำความรู้จักกับคำว่า Sideway ก่อน
สภาวะ Sideway ก็คือช่วงที่ราคาหุ้นไม่ยอมไปไหนไกล ไม่ขึ้น ไม่ลง ราคาวิ่งออกข้างไปเรื่อยๆ ไม่ทำนิวไฮแต่ก็ไม่ทำนิวโลว์ ราคาวิ่งชนจุดสูงสุดก็ร่วงลงไปหาจุดต่ำสุดแล้วก็เด้งขึ้งลง ขึ้นลง ออกไปทางด้านข้าง
ช่วงนี้ถ้ามองในมุมของ demand กับ supply มันก็คือช่วงสะสม อย่างที่ Wyckoff logic บอกไว้นั่นเอง
แล้วสะสมเพื่ออะไรกันล่ะ บางคนอาจมีคำถาม
หุ้นมันก็เหมือนสินค้าที่มีจำนวนจำกัด บริษัทมหาชนหนึ่งๆก็จะมีจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดจำนวนหนึ่งแล้วแต่ว่าผู้บริหารจะแบ่งออกมาเท่าไหร่ ซึ่งมันมีจำกัด เช่น 1000 ล้านหุ้น โดยปกติ ในจำนวนนี้ก็จะถูกเจ้าของบริษัทถืออยู่กองใหญ่ๆ ที่เหลือก็กระจายอยู่ในมือ รายใหญ่ส่วนหนึ่ง และรายย่อยคนละเล็กๆน้อยๆ
เมื่อเวลาผ่านไปหุ้นในมือเจ้าของก็ถูกขายออกตลาดปันให้รายย่อย เปลี่ยนมือ กระจัดกระจาย เจ้าของมีน้อยลง รายย่อยถือมากขึ้น เมื่อใครสักคนที่มีเงินเยอะต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วม-คือมีหุ้นอยู่ในมือมากขึ้น ก็ต้องรวบรวม
ถ้าคนรวบรวมรู้ว่าในอนาคตราคาหุ้นตัวนั้นจะมีมูลค่าสูงกว่านี้มากเป็นเท่าตัว หากต้องการเอาไปขายให้ได้ราคาดีๆ ก็ต้องซื้อหุ้นเก็บไว้ที่ราคาต่ำๆให้ได้มากที่สุ การซื้อแบบนี้แหละที่เรียกว่า "การสะสม"
แน่นอน เมื่อหุ้นอยู่ในมือรายย่อยนับร้อยพ่อพันแม่ ราคาก็ไม่เสถียร จึงมีขึ้นลง ตามอารมณ์ตลาด วันไหนดัชนีแดงรายย่อยก็เต็มใจขายที่ราคาถูกหน่อย วันไหนเขียวราคาขึ้นถึงจะยอมปล่อยของ เหล่านี้จึงเป็นปัจจัยให้คนทำราคาต้องมีความอดทน และต้องมีเป้าหมายว่าต้องได้ทุนเฉลี่ยประมาณเท่าไหร่ หากราคาวิ่งไปเกินระดับก็ต้องทุบกดลงให้อยในระดับที่ยอมรับได้
รูปร่างหุ้น Sideway จึงมีหน้าตาประมาณนี้

แล้วเราจะมีวิธีการตีความหุ้น Sideway ยังไงดีล่ะ ดูๆแล้วหน้าตาก็คล้ายๆกัน


Wyckoff Accumulation

ถือว่าเป็นทฤษฎีที่ผมชอบมากๆเป็นการส่วนตัวนะ เหตุผลคือมันอธิบายที่มาที่ไปด้วยภาษาชาวบ้านให้เห็นภาพมีเหตุและผลที่รับฟังได้ง่าย(ตามความเห็นส่วนตัวผมนะ)


Phase A:

เป็นช่วงของขาลงเฮือกสุดท้าย
PS: อยู่ในช่วงที่ตลาดยังลงต่อ โดยก่อนหน้านี้ supply หรือความต้องการขายยังมีอยู่ แต่ก็เริ่มน้อย ต่อมาราคาหยุดลงเพราะแรงซื้อชนะ จึงเด้ง กลายรูปแบบของแนวรับ PS (preliminary support) แต่เพราะการเด้งขึ้นแค่เล็กน้อยเท่านั้น
SC: จากนั้นราคาก็ลงแรงและหนักมาก จนกลายเป็น selling climax (SC) ซึ่งถ้าดูกราฟแท่งเทียนหรือบาร์ชาร์ทจะเห็นชัดว่าราคาลงเป็นแท่งแดงยาวและวอลุ่มก็สูงมากสืบเนื่องมาจากการขายของรายย่อยไปให้กับนักลงทุนมือ.
AR: วันต่อมาเมื่อแรงขายหมดลงหรือแรงซื้อเข้ามาสนับสนุนมากขึ้นก็จะทำให้เกิดช่วง automatic rally (AR) คือราคาเด้งขึ้นเพราะแรงซื้อชนะ โดยความต้องการซื้อนั้นอาจมาจากคนที่ชอร์ตหุ้นตั้งแต่ต้นทางได้กลับมาซื้อหุ้นคืน
ST: เมื่อมีเด้งขึ้นก็ย่อมเป็นโอกาสของคนที่อยากขาย ซึ่งอาจจะขายไม่ทันตอน panic หรือตัดใจขายไม่ลงในตอนนั้น หรือคนที่ซื้อได้ที่ราคาต่ำสุด หรืออาจจะรู้ว่ามันต้องมีเด้งให้ขาย-ก็ถล่มขายเพื่อกดราคาให้ลงกลับไปหาโลว์เดิมที่เกิด panic การย่อกลับลงไปนี้เรียกว่า secondary test (ST)
ซึ่งมันจะเป็นชื่อนี้จริงๆก็ต่อเมื่อแรงขายน้อยลงกว่าตอน panic และแท่งราคาก็สั้นกว่า ที่สำคัญคือราคาต้องปิดเหนือหรือเท่ากับ SC ด้วย
แต่ถ้าหาก ST ลงไปต่ำกว่า SC ก็แสดงว่าราคาทำโลว์ใหม่นั่นจะส่งผลให้การรวบรวมหุ้นต้องยืดออกไปอีกพักหนึ่งเพราะแรงขายยังไม่หมดกำลัง
ช่วงราคาระหว่างจุดสูงสุดของ AR ลงไปจนถึงจุดต่ำสุดของ SC หรือ ST นี่แหละที่เราเรียกว่า Trading Range (TR) ซึ่งเราจะใช้เป็นกรอบของการสะสมหุ้นสำหรับช่วงต่อไป
บางครั้งขาลงอาจจะจบแบบไม่ต้องมีแท่งแดงบาว วอลุ่มสูงปรี๊ดก็ได้ แต่มันก็ต้องมี PS, SC, AR และ ST อยู่ดี เพราะว่ากรอบราคาลักษณะนี้มันจะเป็นโครงสร้างของการเข้าสะสมหุ้นของรายใหญ่หรือสถาบันในเฟสต่อไป
ส่วนกรอบของการสะสม(TR)รอบใหม่(ซึ่งเกิดในช่วงขาขึ้นระยะยาว) เราจะไม่เห็นจุดที่เป็นตัวแทนของ PS, SC และ ST ได้ชัดเจนเท่าเฟส A แต่มันก็จะออกไปในแนวทางคล้ายกัน โดยจะสะสมเพื่อรอขายมากกว่า
ส่วนใน เฟส B-E กรอบการสะสมจะคล้ายกับ A เพียงแต่มักจะใช้เวลาสั้นกว่าและการแกว่งของราคาแคบกว่า


Phase B

เป็นช่วงที่เรียกว่า Building a Cause คือ สร้างเหตุ(สะสมหุ้นราคาถูกให้มากที่สุด) เพื่อให้เกิดผล(ขาขึ้นรอบใหม่)
ในเฟสนี้, จะเป็นพื้นที่ของเหล่าสถาบันหรือรายใหญ่เงินหนา ที่จะเข้ามาสะสมหุ้นราคาถูกกันเพื่อจะเก็บไว้รอขายในช่วงขาขึ้น เพราะเป็นช่วงที่เขาชิงแย่งของถูกกันมันจึงมักจะใช้เวลานานอย่างเห็นได้ชัด(บางตัวก็เป็นปีหรือมากกว่านั้น) ความพิเศษของช่วงนี้ก็คือเป็นโซนของภาวะ “ลับ ลวง พราง” คือมีทั้งเบรคหลอก เขย่าให้หลุดแนวรับ(โลว์เดิม)แล้วเด้งกลับเป็นประจำ หรือไม่ก็แช่ไม่เล่นแบบไม่สนใจตลาด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวก็คือ “ฉันจะเอาของถูกจากมือแกให้มากที่สุด” ด้วยการทำให้กลัว โลภ และอึดอัด จนต้องคายของออกมา
บางคนอาจมองว่าเจ้ามือต้องเล่นทุกวันทุกจังหวะ ซึ่งบางทีก็ไม่จำเป็นหรอก อยู่เฉยๆก็มีคนขายหุ้นให้ทุกวัน เพราะแค่ตลาดแดงหน่อยขี้คร้านรายย่อยก็แย่งกันขายหนีตายกันเอง หรือตลาดเขียวหุ้นไม่วิ่งรายย่อยขี้เบื่อก็ขายออกแบบรำคาญก็มีประจำ ส่วนเจ้ามือก็นั่งยิ้มรอรับหุ้นราคาถูกอย่างเดียวก็มี
ช่วงแรกๆของ Phase B นี้, ราคาจะสวิงแรงมาก วิ่งขึ้นลงในกรอบกว้าง ด้วยวอลุ่มซื้อขายที่สูง เพราะสถาบันหรือรายใหญ่ต้องการเขย่าเพื่อเก็บหุ้นที่กระจายอยู่ในมือรายย่อยใจฝ่อไปไว้ในคลังให้มากที่สุด
กระนั้น,เมื่อราคาสวิงลง-วอลุ่มก็ลดลงด้วย ต่อมาเมื่อพบว่าความต้องการขาย (supply) เริ่มร่อยหรอ(ราคาลงวอลุ่มลด-ไม่มีใครขาย) ก็พร้อมที่จะข้ามไป Phase C


Phase C

เป็นช่วงของการทดสอบแรงขายอย่างหักหาญแล้วล่ะ เพื่อที่จะรับซื้อหุ้นที่ยังมีความอยากขายเหลืออยู่ในตลาด (supply testing) คนที่ทดสอบก็คือรายใหญ่/สถาบัน หรือใครก็ตามที่เป็น Smart money ที่ท้าทายแบบนี้ก็เพื่อทำให้แน่ใจครั้งสุดท้ายว่าหุ้นพร้อมขึ้น พูดง่ายๆคือ ก่อนหน้านั้น แช่ก็แล้ว กดหุ้นให้ลงจนหลุดทะลุโลว์เดิมลง (spring) ก็ไม่ค่อยมีใครอยากขายเลย วอลุ่มน้อยมาก

Spring ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบที่สำคัญ หน้าตาของมันก็คือ-ราคาถูกกดลงไปจนหลุดแนวรับหรือโลว์เดิมและก็จะเด้งกลับขึ้นมาวิ่งในกรอบสะสมได้อีกในระยะเวลาสั้นๆ มันเป็นตัวอย่างของกับดักหมี-เพราะการที่หุ้นโดนขายลงไปจนหลุดแนวรับหรือโลว์เดิมนั้น มันเป็นสัญญาณของขาลงชัดเจน
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว, อาการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้นต่างหาก มันเป็นกับดักครั้งสุดท้ายที่จะเขย่าคนที่อยากขายให้คายหุ้นออกก่อนเอาจริงนั่นเอง
ไม่เพียงแต่แนวรับทีจะถูกทดสอบ แต่แนวต้านก็โดนเช่นกัน เขาจะไล่ราคาจนทะลุแนวต้านขึ้นไปอย่างสวยงาม แต่จากนั้นอีกไม่กี่วันก็โดนทุบให้ราคาลงมาอยู่ในกรอบเหมือนเดิม(ที่หลายคนเรียกว่าเบรคหลอกนั่นแหละ)
ซึ่งการกระทำของ smart money แบบนี้มักจะสร้างความหงุดหงิดแก่รายย่อยมาก คือซื้อตอบเบรคแล้วโดนกดให้ไปขายตอนที่หลุดโลว์ นับเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดมาก จึงทำให้คนไม่ทันเกมส์เกิดความเกลียดหุ้นและสาปส่งเจ้ามือกันใหญ โดยหารู้ไม่ว่านี่เป็นหนึ่งในขึ้นตอนเขย่าคนใจฝ่ออกจากตลาดครั้งท้ายๆแล้ว
ในทางทฤษฎีของ Wyckoff แล้ว, การเขย่าหรือ spring นี้จะเป็นการทดสอบแรงขาย ซึ่งหากสำเร็จ คือไม่มีการ panic ขายตาม ก็หมายความว่าการทดสอบนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะแสดงให้เห็นว่าถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว
การเกิดวอลุ่มน้อยๆในตอนเขย่าหรือ spring จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าหุ้นตัวนั้นพร้อมขึ้นแล้ว และถือว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะเข้าซื้อเพื่อกินคำโตรอบใหญๆ
ส่วนการปรากฎตัวของ SOS จะเกิดขึ้นหลังจาก spring ภายในเวลาที่ต่อเนื่องกัน แต่ถ้าการทดสอบ supply ยังไม่สำเร็จ คือยังมีแรงขายสะสมอยู่อีกมาก ก็จะไม่เกิด spring นั่นหมายความว่า Phase C ยังทำไม่ได้


Phase D

ถ้าเราวิเคราะห์ถูก, สิ่งที่จะเกิดขึ้นเพื่อแสดงออกว่าความต้องการซื้อเหนือกว่าความต้องการขาย-ก็คือการเกิดแท่งเขียวยาวและวอลุ่มก็ต้องสูงด้วย(SOS)
และจากนั้นเมื่อราคาวิ่งแรง(เหตุ)ก็ต้องมีแรงขายทำกำไร(ผล)ทำให้เกิดการขายทำกำไร ราคาก็ย่อ(เกิดเป็น LPS)ที่มีลักษณะแท่งราคาสั้นๆและวอลุ่มน้อยๆ(ลดลง)
ถ้ายังไม่เห็นลักษณะราคารูปแบบนี้แล้วก็ให้อยู่เฉยๆ อย่าเข้าไปเล่น แต่ให้เฝ้าดูอย่างไกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจจริงๆว่าราคามันเคลื่อนไหวขึ้นอย่างแข็งแรงตามลักษณะของขั้นตอน Markup อย่างแท้จริง เมื่อมั่นใจว่าใช่-ก็ให้ซื้อเพิ่มได้
การที่จะเป็น Markup อย่างแท้จริงก็คือราคาต้องทะลุผ่าน TR (แนวต้านของกรอบสะสม) ขึ้นไปได้ด้วยวอลุ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากๆ (50% ขึ้นไป ยิ่งมากยิ่งดี) และที่สำคัญหลังจากที่ราคาวิ่งแรงๆก็จะถูกขายทำกำไรตามธรรมชาติของมัน ซึ่งช่วงนี้ก็สำคัญคือมันย่อลงไม่ลึก(สามารถหลุดแนวต้านเดิมได้)และวอลุ่มต้องลดลงจากตอนที่ breakout อย่างชัดเจน ถ้าเป็นตามนี้คุณก็จะได้จุดซื้อที่ดีคือตอนที่มันเด้งขึ้นจากการย่อแล้วสามารถทะลุแนวต้านของกรอบสะสมเดิมขึ้นไปได้อีกครั้งนั่นเอง

Phase E

คือตอนที่ราคา breakout วิ่งผ่าน TR ขึ้นมาได้แล้ว มันเป็นช่วงที่ความต้องการซื้อเอาชนะความต้องการขายได้อย่างขาดลอย และการไล่ราคาก็จะได้รับการรู้เห็นจากทุกๆคนแล้ว การย่อ,การเขย่า จะเกิดขึ้นแต่ใช้ระยะเวลาสั้นๆก็สามารถดีดขึ้นไปทำนิวไฮได้ การพักตัวในช่วงนี้มีเพื่อทำการสะสมครั้งใหม่และก็ขายทำกำไรออกบางส่วนจากรายใหญ่


แล้วจะซื้อกันตรงไหนดีล่ะ?

ในทฤษฎี นี้ ท่านสามารถเข้าได้ตั้งแต่ spring เลยครับ อย่างในรูปข้างบนจะมีกรอบแดงที่บอกว่า Wyckoff Buy Zone นั่นแหละครับ ใครใจถึงก็ซื้อที่ก้นเลย หรือถ้าไม่แน่ใจ(แบบผม)ก็ให้เข้าตอนที่มันยกไฮยกโลว์ขึ้นมาสัก 2 ช่วงก่อนหรือยืนเหนือ EMA50 ก็ได้ เพื่อความชัวร์ บางตัวหากมี gap เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีมาก
แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่ชัวร์ 100% นะว่าหุ้นทุกตัวที่ดีดพ้น spring แล้วขึ้นแรงเลย หุ้นแต่ละตัวมีคาแร็คเตอร์ของตัวเอง บางตัวก็ยึกยัก บางที SET ก็ทำพิษเอาเหมือนกันเช่นอยู่ๆก็ panic เราก็ต้องดูทุนเราด้วย ถ้าไม่ไหวก็ออกไปก่อน
เรื่องจุดเข้าซื้อที่ใช่น่ะ มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เลยนะ คุณต้องลองต้องเจอเองว่าจังหวะไหนที่คุณใช่และแม่นที่สุด ไม่มีใครบอกคุณได้หรอก คณต้อง trial & error จนเจอด้วยตัวเองเท่านั้น
มาดูตัวอย่างจากของจริงกันบ้าง






Sideway ในมุมของ Elliott Wave

จะว่าไปแล้วมันก็เป็นการพูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่อธิบายกันคนละวิธี ซึ่งผมก็คิดว่ามันดีและมีประโยชน์มาก เพราะแต่ละทฤษฎีก็ให้มุมมองที่แปลกใหม่ ซึ่งมันช่วยเสริมกันได้อย่างดีมากๆ
ในส่วนของอีเลียตเวฟนี้ ผมขอยกเครดิตให้ pattern ของ อ.รี สึนามิ ที่เขียนไว้ในในหนังสือ "เทคนิคตามล่าหาหุ้น เวฟ 3X ด้วยคลื่นเอลเลียต" ท่านได้ยกตัวอย่างคลื่นตระกูล Large X-wave ประเภท Double three กับ Triple three ที่มีรายละเอียดดังนี้ (ผมขอยกมาแค่ 2 แบบนะ ที่เหลือท่านไปอ่านหนังสือของท่านเอง มีขายที่ร้านซีเอ็ด นายอินทร์ ทั่วประเทศ)

ตัวนี้เรียกว่า Triple Three Combination ครับ ผมอยากให้โฟกัสไปที่ช่วงปลายของรูป จะเห็นว่ากรอบการ sideway จะแคบลงใช่มั้ย นี่คือจุดจบของการ sideway รูปแบบแรก คือราคาจะแกว่งตัวจากช่วงกว้างๆก่อน จากนั้นก็ค่อยๆแคบลง แคบลง จนสุดท้าย demand กับ supply ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน เขาเรียช่วงนี้ว่า Apex
พอเห็นภาพรวมได้แล้วนะ ทีนี้มาดูตัวอย่างจริงๆกันเลย
ก็ไม่ตัวไหนไกลหรอกครับ รูปที่ผมโพสไปก่อนหน้านี้แหละ PIMO ผมจะทำให้ดู 2 แบบ คือแบบกรอบราคาที่แคบลง อาจจะไม่เป๊ะนะ แต่เราจะเห็นเลยว่าก่อนที่มันจะซิ่ง แท่งราคานั้นวิ่งต่อเนื่องในช่วงแคบมากๆ และที่สำคัญดูวอลุ่มข้างล่างสิ แห้งจนแท่บไม่เล่นไกันเลย แบบนี้แหละที่เรียกว่า APEX

มาดูแบบเส้นกันบ้าง มองในรูปของการสวิงของราคา ก็แคบลงๆ พอเห็นภาพนะ

เท่าที่ประสบการณ์ผมเคยเจอมา หุ้น sideway ที่จบแบบนี้มีเยอะมาก ลองทำการบ้านต่อกันเองนะ
เสริมอีกนิดนะ มุมมองแบบนี้ มันสามารถอธิบายผ่านทฤษฎี VCP ของพี่ Mark Menervini จากนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ" ได้เช่นกัน ตามรูป



ต่อเรื่องเวฟ, อีกประเภทที่เหลือก็คือ Triple Three Running
ในหนังสือ อ.รี สึนามิ ท่านให้ภาพต้นฉบับมาแบบนี้

แต่ในบทความนี้ ผมขอเพิ่มจุดสังเกตุอีกเล็กน้อยในมุมของการยกกรอบของราคา เนื่องด้วย X-wave ที่ยาวมากๆนั้นน่ะ มันคือแรงซื้อที่เกิดจาก demand มหาศาลเข้ามา แต่ทว่าการซื้อครั้งนี้ไม่ได้ต้องการไล่ราคาไปทันที แต่เพื่อให้ได้ของมากขึ้น สาเหตุน่าจะมาจากสภาพคล่องของหุ้นตัวนั้นน้อยมากๆ การจะรอรับซื้อที่ช่วงราคาเดิมนั้นได้ของไม่เยอะ จึงต้องเพิ่มราคาอีกหน่อย เพื่อจะได้ของมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ จึงต้องมีการสะสมไปอีกสักระยะ กลายเป็นว่าเกิดการสะสมหลายช่วงราคา นั่นเอง

ตัวอย่างก็มีไม่น้อยนะ เอาล่าสุดเลย


ก็น่าจะมีเท่านี้แหละ ที่ผมพอรู้เกี่ยวกับการแยกแยะหุ้น Sideway ก็คิดว่าน่าจะพอให้ไอเดียในการปรับใช้ได้ (ถ้าท่านอ่านจบกัน) เอาไปทำการบ้านต่อ บันทึกกันเยอะๆครับ เรื่องนี้ใครทำใครได้นะ

++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++
---------


สนับสนุนโดย หนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" และ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"
หนังสือทั้งสองเล่มเขียนถึงการใช้ประโยชน์จากเส้นค่าเฉลี่ยครับ 
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ เป็นการใช้เส้นค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์ เป็นการเล่นหุ้นเพื่อรันเทรนด์ขาขึ้นรอบใหญ่ ด้วยกราฟรายสัปดาห์ เล่มนี้แหละที่ผมเอาไอเดียนี้ไปเพิ่มเคสและอธิบายลงรายละเอียดมากขึ้น
 อ่านสรุปได้ที่ http://zyo71.blogspot.com/2017/09/blog-post_7.html

ส่วน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" เป็นการใช้ประโยชน์จากเส้นค่าเฉลี่ยรายวัน ซึ่งในเล่มนี้ก็ได้มีแนวทางแยกแยะแนวโน้มด้วยเส้นค่าเฉลี่ยอย่างง่ายๆ เน้นการเทรดหุ้นตามแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น ซึ่งนอกจากการระบุแนวโน้มแล้ว ก็ยังแนะวิธีระบุต้นเทรนด์ของแนวโน้มขาขึ้นด้วย วิธีซื้อ ทนรวย และขายเสร็จสรรพ
ลองอ่านสรุปได้ที่ http://zyo71.blogspot.com/2018/04/blog-post_26.html


ทั้งคู่ได้รับคำชมว่า เป็นหนังสือหุ้นที่ปล่อยของไม่มีกั๊กครับ 
ท่านลองอ่านตามบทความนี้ http://zyo71.blogspot.com/2018/06/blog-post_50.html

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ส่งข้อความไปที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks



(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

3 comments:

  1. ขอบคุณมากค่ะ อ่านแลัวพอจะเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณมากเลยค่ะสำหรับบทความนี้ ทำให้เข้าใจกระจ่างขึ้นมากในการเข้าซื้อหุ้น

    ReplyDelete
  3. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete

Popular Posts